วันอาทิตย์ที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2556

นกแอร์ IPO ครึ่งปีหลัง


นกแอร์ ประกาศเข็นหุ้นไอพีโอ 187.50 ล้านหุ้น เข้าตลาดหุ้น 
  สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เปิดเผยว่าเมื่อ
วันที่ 6 มีนาคม 2556 ได้รับแบบไฟลิ่งเวอร์ชั่นแรกของบริษัท สายการบินนกแอร์ จำกัด 
(มหาชน) เพื่อนำหุ้นเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) จำนวน 
125,000,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท รวม 125,000,000 บาท โดยจัดสรรหุ้นสามัญ
เพิ่มทุนเพื่อเสนอขายต่อประชาชนทั่วไป (IPO) จำนวน 125,000,000 หุ้น ทั้งนี้ภายหลังการ
เสนอขายหุ้นเพิ่มทุนดังกล่าว บริษัทจะมีทุนจดทะเบียนและทุนชำระแล้ว 625,000,000 บาท
 นอกจากนี้ บริษัท Aviation Investment International จำกัด ผู้ถือหุ้นของบริษัทดัง
กล่าวยังมีความประสงค์ที่จะเสนอขายหุ้นที่ถืออยู่ต่อประชาชน จำนวน 62,500,000 หุ้น ซึ่งคิด
เป็นสัดส่วนร้อยละ 10 ของทุนจดทะเบียนชำระแล้วของบริษัทภายหลังการเสนอหุ้นสามัญครั้งนี้ 
โดยการขายหุ้นดังกล่าวจะดำเนินการขายพร้อมกันและมีอัตราราคาเดียวกันกับการเสนอขายหุ้น
สามัญเพิ่มทุนของบริษัท ดังนั้นหุ้นที่เสนอขายประชาชนครั้งนี้จึงมีจำนวน 187,500,000 หุ้น 
ส่วนที่ปรึกษาทางการเงินคือ  ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCB และผู้จัดการการ
จัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่ายคือ บริษัทหลักทรัพย์ ไทยพาณิชย์ จำกัด

เปิดประวัติสายการบินนกแอร์  

 บริษัท สายการบินนกแอร์ จำกัด (มหาชน) เดิมชื่อ บริษัท สกายเอเชีย จำกัด ก่อตั้ง
เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2547 เพื่อประกอบกิจการค้าขายในการเดินอากาศแบบประจำมีกำหนด
และแบบไม่ประจำเป็นครั้งคราว ซึ่งบริษัทถูกจัดตั้งขึ้นเมื่อรัฐบาลมีนโยบายเปิดเสรีทางการบิน 
ภายใต้แนวคิดที่จะให้เป็นสายการบินต้นทุนต่ำ (Low-Cost Airline) ในเครือ บริษัท การบินไทย 
จำกัด (มหาชน) หรือ THAI  เพื่อแข่งขันกับสายการบินต้นทุนต่ำอื่นๆ และรักษาความสามารถใน
การแข่งขัน ประกอบกับการที่การบินไทยเห็นว่าตลาดสายการบินต้นทุนต่ำมีอัตราการเติบโตสูง 
อีกทั้งโครงสร้างการบริหารธุรกิจ ทรัพยากรบุคคลและการบริหารต้นทุนของการบินไทยไม่เหมาะ
สมกับการเข้าดำเนินธุรกิจในส่วนการตลาดนี้โดยตรง การบินไทยจึงมีนโยบายให้การสนับสนุนนก
แอร์ และเข้าร่วมเป็นหนึ่งในผู้จัดตั้งนกแอร์โดยถือหุ้นในสัดส่วน 39% 
 ส่วนในปี 2554 บริษัทดังกล่าวได้มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างผู้ถือหุ้นครั้งสำคัญคือ 
เมื่อเดือนตุลาคม 2554 กลุ่มผู้บริหารระดับสูงของบริษัท ร่วมกับกองทุน Lombard Asia III 
L.P. โดย บริษัท Aviation Investment International จำกัด ได้เข้าซื้อหุ้นจากผู้ถือหุ้นเดิม
รวม 25%  อีกทั้งในเดือนธันวาคม 2554 การบินไทยได้เข้าซื้อหุ้นเพิ่มเติม 10% รวมกับหุ้นที่
ถืออยู่เดิมเป็น 49% ซึ่งภายหลังการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างครั้งดังกล่าวทำให้โครงสร้างผู้ถือหุ้น
ของนกแอร์ถูกแบ่งเป็นสองกลุ่มสำคัญอย่างชัดเจน คือกลุ่มผู้บริหารและการบินไทย ซึ่งเป็นการ
แสดงถึงความตั้งใจอย่างแน่วแน่ของทั้งสองกลุ่มผู้ถือหุ้นที่จะร่วมกันพัฒนาบริษัทให้เติบโตอย่าง
ยั่งยืนต่อไปในอนาคต
 สำหรับปัจจุบัน นกแอร์จัดเป็นสายการบินราคาประหยัด (Budget Airline หรือ Low-
Cost Airline) ที่ให้บริการขนส่งทางอากาศซึ่งครอบคลุมเส้นทางการบินมากที่สุดในประเทศ
ไทย โดย ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2556 นกแอร์ให้บริการเที่ยวบินทั้งหมด 23 เส้นทางการบิน ซึ่ง
ครอบคลุมทั้งหมด 21 จุดหมายปลายทางและมีเที่ยวบินทั้งสิ้น 497 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ ส่วนการ
ดำเนินงานนั้น นกแอร์ให้บริการขนส่งทางอากาศในลักษณะจุดต่อจุดและไม่มีบริการเชื่อมต่อ 
(Point to Point) โดยใช้เครื่องบินแบบทางเดินเดียว (Single Aisle) ซึ่งสามารถให้บริการเส้น
ทางบินในรัศมีประมาณ 4 ชั่วโมงจากศูนย์ปฏิบัติการบิน ครอบคลุมตลาดในภูมิภาคเอเชียตะวัน
ออกเฉียงใต้และประเทศจีนบางส่วน 
 ทั้งนี้ ในปัจจุบันบริษัทฯ ให้บริการเที่ยวบินทั้งจากฐานปฏิบัติการหลักที่ท่าอากาศยาน
นานาชาติดอนเมืองและฐานการปฎิบัติการย่อยที่ท่าอากาศยานนานาชาติเชียงใหม่ไปยังท่า
อากาศยานภูมิภาคอื่นๆ โดยมุ่งเน้นให้บริการเที่ยวบินทั้งในเส้นทางที่มีความต้องการทางการบิน
หนาแน่นอย่างเส้นทางการบินสายหลักและเส้นทางการบินที่มีความต้องการทางการบินไม่มากนัก
ในปัจจุบัน แต่คาดว่าจะความต้องการทางการบินสูงขึ้นในอนาคตอย่างเส้นทางการบินสายรองและ
เส้นทางการบินสายย่อย เพื่อให้สอดคล้องกับกลยุทธ์ในการแข่งขันของบริษัทว่าด้วยการให้บริการ
เส้นทางการบินที่ครอบคลุมมากที่สุดในประเทศไทย

ปี 55 นกแอร์ฟันรายได้ 8.21 พันลบ.  

 สำหรับผลการดำเนินงานในปี 2555 บริษัทฯ มีรายได้หลักรวมเท่ากับ 8,217.4 ล้าน 
บาท เพิ่มขึ้นจากปี 2554 ที่ทำได้ 6,039.30 ล้านบาท และปี 2553 ที่ทำได้ 4,179.4 ล้านบาท 
คิดเป็นอัตราการเติบโต 40% 40 ต่อปี โดยรายได้ที่เพิ่มขึ้นมาจากการเพิ่มเส้นทางการบิน การ
เพิ่มเที่ยวบินและการปรับปรุง
                 การบริหารจัดการเครื่องบินให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นมากกกว่าการปรับราคาค่า
โดยสาร ดังจะเห็นจากรายได้ต่อปริมาณการผลิตด้านผู้โดยสาร (RASK) และอัตราค่าโดยสารต่อ
ผู้โดยสารต่อกิโลเมตร (Passenger Yield) ที่ค่อนข้างคงที่ระหว่างปี 2553-2555
 ส่วนกำไรสุทธิจากการดำเนินงานปกติของบริษัทฯ มีความผันผวนตามราคาน้ำมัน โดย
ในปี 2554 บริษัทฯ มีกำไรสุทธิอยู่ที่ 199.80 ล้านบาท ลดลงจาก 601.50 ล้านบาท ในปี 2553 
เนื่องจากได้รับผลกระทบในเชิงลบจากทั้งราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่เพิ่มขึ้นและเหตุการณ์อุทกภัย 
ซึ่งทำให้บริษัทฯ จำเป็นต้องย้ายศูนย์ปฎิบัติการทางการบินมายังสนามบินสุวรรณภูมิ อันมีผลโดย
ตรงทำให้ต้องลดจำนวนเที่ยวบินที่ให้บริการ รวมทั้งมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ สำหรับปี 
2555 บริษัทฯ มีกำไรสุทธิภายหลังปรับปรุงค่าใช้จ่ายซ่อมแซมเครื่องบินเพื่อคืนตามสัญญาเช่า
เท่ากับ 752.70 ล้านบาท เพิ่มขึ้นอย่างมากจากปี 2554 และ 2553 อันเป็นผลมาจากการเปิด
เที่ยวบินเพิ่มขึ้น อีกทั้งบริษัทฯ สามารถควบคุมค่าใช้จ่ายได้ดีขึ้น

เปิดกรุสินทรัพย์นกแอร์

 ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2553, 2554 และ 2555 บริษัทฯ มีสินทรัพย์รวม เท่ากับ 
1,385.10 ล้านบาท , 2,015.80 ล้านบาท  และ 2,252 ล้านบาท ตามลำดับ โดยสินทรัพย์ส่วน
ใหญ่ของบริษัทฯ กว่า 61.9-76.1% คือสินทรัพย์ประเภทเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดรวม
ถึงเงินลงทุนชั่วคราว เนื่องจากทรัพย์สินหลักที่ใช้ในการประกอบธุรกิจของบริษัทฯ ส่วนใหญ่อยู่ใน
รูปแบบของการเช่า ทั้งสัญญาเช่าดำเนินงาน (Operating Lease) และการเช่าพื้นที่จึงไม่ได้
บันทึกเป็นสินทรัพย์ในงบการเงินของบริษัท เช่น เครื่องบิน ศูนย์ปฎิบัติการการบิน และอาคาร
สำนักงานใหญ่
 ทั้งนี้ระหว่างปี 2553-2555 บริษัทฯ มีเงินทุนหมุนเวียนที่เพียงพอต่อการดำเนินงาน
มาโดยตลอด โดยบริษัทฯ มีแหล่งเงินทุนสำคัญ คือกระแสเงินสดจากการดำเนินงาน รวมถึงใน
การขยายฝูงบินของบริษัทฯ บริษัทฯ ทำการเช่าดำเนินการเครื่องบิน จึงไม่มีค่าใช้จ่ายในการลง
ทุนจำนวนมากในปีใดปีหนึ่ง ทำให้บริษัทฯ จึงไม่จำเป็นต้องพึ่งพิงแหล่งเงินทุนภายนอกอื่น เช่น 
เงินทุนจากผู้ถือหุ้นหรือเงินทุนจากการกู้ยืม อย่างไรก็ดี เพื่อเป็นป้องกันความเสี่ยงในการดำเนิน
ธุรกิจ บริษัทฯ จึงสำรองเงินสดดังกล่าวโดยการลงทุนในสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องสูงอย่างตั๋วแลก
เงินและด้วยการลงทุนลักษณะดังกล่าว จึงส่งผลให้บริษัทฯ มีเงินสดหรือรายการเทียบเท่าเงินสด
เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจาก 1,053.90 ล้านบาท ณ สิ้นปี 2553 เป็น 1,656.50 ล้านบาท ณ สิ้นปี 
2555
 ขณะเดียวกันณ วันที่ 31 ธันวาคม 2555 หนี้ของบริษัทฯ ส่วนใหญ่ประกอบด้วย เจ้า
หนี้การค้า 419.90 ล้านบาท เจ้าหนี้อื่น ซึ่งประกอบด้วยรายได้รับที่ยังไม่สามารถรับรู้เป็นรายได้ 
จำนวน 683.70 ล้านบาท ประมาณหนี้สินต่างๆ จำนวน 138.20 ล้านบาท และภาระผูกพันจากผล
ประโยชน์จำนวน 91.20 ล้านบาท สำหรับส่วนของทุน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2555 บริษัทฯ มีส่วน
ของผู้ถือหุ้นเท่ากับ 888.10 ล้านบาท ประกอบด้วยทุนจดทะเบียนที่เรียกชำระแล้ว 500 ล้าน
บาท และกำไรสะสม 388.10 ล้านบาท

นกแอร์ เผยปัจจุบันมีฝูงบินรวม 16 ลำ

 บริษัท สายการบินนกแอร์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่ามีฝูงบินรวม 16 ลำ ได้แก่ เครื่อง
บินโบอิ้ง 737-400 จำนวน 3 ลำ ซึ่งจะ ทยอยครบอายุสัญญาเช่าในปีนี้ ,เครื่องบินโบอิ้ง 737-
800 จำนวน 10 ลำ และจะรับมอบ เพิ่มเติมอีก 3 ลำ ในปีนี้ เพื่อทดแทนเครื่องบินที่จะครบอายุ
สัญญาเช่า ตลอดจนเพื่อรองรับ 
                 เส้นทางการบินใหม่และการเพิ่มจำนวนเที่ยวบินในเส้นทางการบินเดิม นอกจากนี้ยัง
มีเครื่องบินเอทีอาร์ 72-200 จำนวน 2 ลำ และเครื่องบินเอทีอาร์ 72-500 จำนวน 1 ลำ ขณะที่
บริษัทฯ จะรับมอบเครื่องบินเอทีอาร์ 72-500 เพิ่มอีก 1 ลำ ในปีนี้  

หลังไอพีโอ THAI ถือหุ้น 39.2%-นำเงินขยายฝูงบิน 

 ผู้สื่อข่าวรายงานว่าภายหลังการเสนอขายหุ้น IPO จะทำให้ THAI คงเหลือการถือหุ้น
ในสายการบิน นกแอร์สัดส่วน 39.2% จากเดิม 49% ,บริษัท Aviation Investment 
International จะถือหุ้นสัดส่วน 10% จากเดิมที่ถืออยู่ในสัดส่วน 25% ,นายพาที สารสิน จะ
เหลือสัดส่วนการถือหุ้นอยู่ที่ 4% จากเดิมที่ถือ 5% และรายย่อยถือหุ้น 30% ทั้งนี้บริษัทฯ ยัง
มีนโยบายจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นในอัตราไม่น้อยกว่าประมาณ 25% ของกำไรสุทธิตามงบ
การเงินเฉพาะกิจการของบริษัท หลังหักภาษีเงินได้นิติบุคคลและหลังหักสำรองตามกฎหมายใน
แต่ละปี ส่วนวัตถุประสงค์ในการนำหุ้นเข้าตลาดฯ ในครั้งนี้เพื่อนำเงินที่ได้จากการระดมทุนมา
ขยายฝูงบิน จากปัจจุบันที่มีฝูงบินทั้งหมด 16 ลำ

'พาที สารสิน' ลั่น Q3/56 พร้อมเข้าเทรด

 นายพาที สารสิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายการบินนกแอร์ เปิดเผยว่าช่วงที่ผ่านมา
ได้เลื่อนแผนการนำบริษัทฯ เข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ออกไป เนื่องจากสภาวะตลาดทุนไม่
เอื้ออำนวยต่อการลงทุน ประกอบกับบริษัทฯ ยังไม่มีความจำเป็นต้องใช้เงินจำนวนมาก แต่ในปี 
2556 บริษัทฯ มีความแน่ชัดแล้วว่าจะนำหุ้นเข้าตลาดฯ ในช่วงไตรมาส 3/2556 โดยได้แต่งตั้ง
บริษัทหลักทรัพย์ไทยพาณิชย์เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน โดยจุดประสงค์คือ ระดมทุนเพื่อขยายฝูง
บิน จากปัจจุบันที่มีฝูงบินทั้งหมด 16 ลำ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น