วันอาทิตย์ที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2556

SLC


SLC คาดจะขายหุ้นเพิ่มทุน PP ให้รายย่อยภายในเดือนนี้ ระบุจะตุนเงินไว้ใช้ประมูลทีวีดิ
จิทัล
 
บริษัทฯ ได้อนุมัติให้เสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนให้แก่บุคคลในวงจำกัด (Private Placement :PP) 
จำนวน  1.5 พันล้านหุ้น เมื่อวันที่ 30 มกราคมที่ผ่านมาว่า คาดว่าจะขายหุ้นเพิ่มทุนในเดือนนี้ 
โดยจะขายให้นักลงทุนบุคคลแบบเฉพาะเจาะจง ซึ่งเมื่อขายหุ้นเพิ่มทุนแล้ว บริษัทฯ ก็จะมีเงิน
ส่วนหนึ่งไว้เพื่อเตรียมความพร้อมในการเข้ายื่นประมูลทีวีดิจิทัล
              ทั้งนี้ คาดว่าหากทุกอย่างเป็นไปตามแผน จะทำให้บริษัทฯ มีเงินจากการเพิ่มทุนเข้ามา
สูงสุดกว่า 600 ล้านบาท ซึ่งบริษัทฯ จะนำเงินจำนวนดังกล่าว เตรียมไว้ใช้ในการประมูล ทีวีระบบดิจิทัล 


 อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่บริษัทฯ ได้ใบอนุญาตประกอบธุรกิจทีวีดิจิทัล บริษัทฯ มีความ
จำเป็นที่จะต้องหาพันธมิตรเพื่อร่วมจัดการในรูปแบบต่างๆ เช่น ด้านกระบวนการทำงาน และการ
ติดตั้งระบบ เพราะจะต้องมีการเปลี่ยนจากระบบอนาล็อกเป็นระบบดิจิทัล
 ' สำหรับแผนการยื่นประมูลทีวีระบบดิจิทัลนั้น บริษัทฯได้มีมติออกมาว่าจะเลือก
ประมูลในช่องข่าวเพียงช่องเดียวเท่านั้น เนื่องจากว่าบริษัทฯ มีความเชี่ยวชาญในด้านนี้ เพราะ
เรามีช่องสถานีโทรทัศน์สปริงนิวส์ ที่ส่งสัญญาณในรูปแบบทีวีดาวเทียมอยู่แล้ว' นายอารักษ์ กล่าว
 ทางด้านผลประกอบการ ประเมินว่า น่าจะเริ่มพลิกมีกำไรตั้งแต่ไตรมาสที่ 3 และไตร
มาส 4 ปีนี้เป็นต้นไป อย่างไรก็ตาม หากบริษัทฯสามารถยื่นประมูลได้ช่องรายการข่าวในทีวีระบบ
ดิจิทัล  บริษัทฯ จะต้องนำเงินไปลงทุนเพื่อพัฒนาระบบต่างๆ ซึ่งอาจจะทำให้บริษัทฯ ยังขาดทุน
ต่อเนื่องอีก  3 ปี จากเดิมที่คาดว่าจะเริ่มมีกำไรในปี 2557 

SLC เรียกร้อง กสทช.แก้ปัญหาการจัดเรตติ้ง หากมีทีวีดิจิทัลเกิดขึ้น ระบุที่ผ่านมาเอื้อแต่
ฟรีทีวีรายใหญ่
  นายอารักษ์ ราษฎร์บริหาร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โซลูชั่น คอนเนอร์ (1998) 
จำกัด (มหาชน) หรือ SLC เปิดเผยกับ eFinanceThai.com ว่า ถึงกรณีการจัดอันดับความนิยม
ของช่องรายการว่า คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม
แห่งชาติ(กสทช.) ควรมีมาตรการในการดูแลการจัดอันดับความนิยมของช่องรายการ โดยใช้
จำนวนครัวเรือนในประเทศที่มีอยู่ให้มากกว่าเดิม เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมา  กสทช.ได้ใช้บริษัท
จัดอันดับเรตติ้งจากต่างประเทศ ซึ่งที่ผ่านมาจะเอื้อประโยชน์ให้กับผู้ประกอบการรายใหญ่ช่อง
ฟรีทีวี เช่น ช่อง 3 และช่อง 7 จึงส่งผลให้ช่องรายการที่ออกอากาศผ่านระบบดาวเทียมและระบบ
เคเบิ้ล ถูกจัดอันดับเรตติ้งที่ต่ำจึงทำให้รายได้หลักที่มาจากค่าโฆษณาไม่สูงมากเหมือนช่องฟรี
ทีวี 
 ทั้งนี้  ในระยะต่อไป หากการประมูลระบบทีวีดิจิทัลเกิดขึ้นก็จะทำให้มีช่องบริการที่
เพิ่มขึ้นจากเดิมเป็น 24 ช่องซึ่งจะทำให้ประชาชนมีการเลือกบริโภคในช่องรายการที่เกิดใหม่
เพิ่มขึ้นเช่นกัน
 ' อยากให้ทาง กสทช.เข้ามาดูในระบบการจัดอันดับเรตติ้งเนื่องจากว่าได้สำรวจและ
สุ่มการบริโภคของช่องรายการจากครัวเรือนในจำนวนที่น้อยจึงทำให้ผลออกมาเป็นช่องใหญ่ทั้ง
ช่อง 3 ช่อง 7 ได้รับประโยชน์ไปทั้งหมดเพราะว่าประชาชนส่วนใหญ่เลือกบริโภคเพียงแค่ 2 ช่อง
แต่อย่างไรก็ตามหากได้มีการสำรวจมากกว่านี้ซึ่งอาจจะทำให้ค่าเฉลี่ยการสุ่มตรวจเพิ่มขึ้นก็จะทำ
ให้ทราบผลของผู้บริโภคอีกจำนวนหนึ่งที่ไม่ได้เลือกเสพเพียงแค่ 2 ช่องนี้' นายอารักษ์ กล่าว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น