วันอังคารที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2556

ITD


 ITD เตรียมงบ 300 ล้านเหรียญฯ ลุยโครงการทวาย จนกว่าจะจัดตั้งนิติบุคคลย่อย 8 บริษัท
แล้วเสร็จ ถึงจะกระจายเงินทุนลงใน 8 บริษัท 

 งบลงทุนประมาณ 300 ล้านเหรียญสหรัฐ  โดยจะนำเงินไปใช้ในการลงทุนโครงการที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนา
เขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย
1. ลงทุนในโครงการท่าเรือ 100 ล้านเหรียญสหรัฐ 
2. เขื่อน 100 ล้านเหรียญสหรัฐ 
3. ที่พักอาศัย 200 ไร่ มูลค่า 4-5 พันล้านบาท 
4. โครงการในนิคมอุตสาหกรรม 4-5 พันล้านบาท 
โดยคาดว่างบลงทุนดังกล่าวครอบคลุมการลงทุนทั้งหมด


มีการจัดตั้งนิติบุคคลรายย่อย (SPCs) ทั้ง 8 บริษัทแล้ว เงินลงทุนดังกล่าวจะถูกแปลงเป็นเงินลงทุนใน 
SPCs ทั้ง 8 บริษัท 
 อนึ่ง คณะทำงานและอนุกรรมการ 6 ชุด ไทย-พม่าได้ตกลงร่วมกันที่จะระดมทุนและ
ขับเคลื่อนโครงการผ่านการจัดตั้งนิติบุคคลเฉพาะกิจ หรือ SPV ซึ่งจะเป็นโฮลดิ้งคอมพานี และมี
การจัดตั้งนิติบุคคลรายย่อย หรือ SPCs แยกสำหรับแต่ละส่วนทั้ง 8 โครงการ ได้แก่ ท่าเรือ ถนน 
ระบบไฟฟ้า น้ำ ระบบราง เป็นต้น โดย ITD ซึ่งเป็นผู้ถือสัมปทานเดิมของทวายจะเป็นหนึ่งในผู้ลง
ทุนเข้าถือหุ้นในแต่ละบริษัทอย่างต่ำ 25% 
 นายเปรมชัย กล่าวเพิ่มเติมว่า การปรับเปลี่ยนรูปแบบการลงทุนในทวาย จากเดิมที่
บริษัททวายดีเวล็อปเมนต์ จำกัด หรือ DDC ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ ITD เป็นผู้ขับเคลื่อนโครงการ 
มาเป็นการจัดตั้งในรูปแบบโฮลดิ้งคอมพานี โดยมีแกนหลัก คือ หน่วยงานของรัฐบาลไทยและ
พม่านั้นจะช่วยสร้างความมั่นคงให้แก่โครงการ รวมถึงสร้างโอกาสที่จะมีนักลงทุนแสดงความ
สนใจเข้ามาลงทุนในโครงการนี้เพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะทำให้โครงการทวายเดินหน้าได้อย่างรวดเร็ว
 ' งบลงทุนของทวายอยู่ที่ 300 ล้านเหรียญ จะใช้จนถึง SPCs  เปิดเรียบร้อย และ 
ITD จะเป็นผู้ถือหุ้นใน SPCs เหล่านี้ เราอยากถือแต่ละบริษัทอย่างต่ำ 25% แต่จะเป็นผู้ถือหุ้น
ใหญ่หรือเปล่ายังไม่รู้ เพราะรัฐบาลพม่าก็จะมีการระดมทุนจากผู้ที่สนใจเข้ามาถือใน SPC เหล่า
นี้ โดยเงินที่ ITD ลงทุนไปทั้งหมดจะถูกคอนเวิร์ดเป็นทุนอยู่ในทั้ง 8 บริษัท แต่เขาก็ให้เราเลือก
ได้ว่าจะลงทุนเท่าไหร่ ถ้าขาดเหลือก็ใส่เงินเข้าไปได้ แต่ในระหว่างที่ SPV และ SPCs ยังไม่
เสร็จ ITD ก็จะยังดำเนินการต่อไปภายใต้เฟรมเวิร์คเดิมจนกว่าทั้ง 8 บริษัทจะเพิ่มทุนเสร็จและ
ถือหุ้นแล้ว ซึ่ง SPCs จะเข้ามาดำเนินการต่อไป' นายเปรมชัย กล่าว
 ทั้งนี้ ในส่วนของการระดมทุน แต่ละบริษัทจะเป็นผู้จัดหาเงินกู้เอง และตอนนี้รัฐบาล
พม่าก็เข้ามาศึกษาจากข้อมูลเดิมที่บริษัทฯ ได้ศึกษาไว้ นั่นหมายความว่า  DDC ก็จะถูกรวม
เป็น SPV ส่วนการถือหุ้นใน SPV หลักๆ จะเป็นรัฐบาลพม่าและรัฐบาลไทยถือรวมกัน 60% อีก 
40% น่าจะมีทั้งนักลงทุนญี่ปุ่น เกาหลี เป็นต้น 
 ' การทำแบบนี้ช่วยเราได้เยอะจากเดิมเป็นการคุยของเอกชนกับรัฐบาลพม่า แต่
ตอนนี้เป็นรัฐบาล-รัฐบาลก็จะทำให้เกิดความมั่นคงกับโครงการอย่างมาก และนักลงทุนก็จะมั่น
ใจลดเรื่องความขัดแย้งในอนาคตได้' นายเปรมชัย กล่าว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น